วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

Asean

ความเป็นมา
สมาคมอาเซียน ประเทศไทย (ASEAN Association – Thailand) ได้รับการประกาศจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งหวังให้สมาคมฯ มีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของภาครัฐและสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับความร่วมมือของอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม เพื่อทำให้กระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี พ.ศ. 2558
สมาคมอาเซียน ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้เข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของอาเซียนที่มีต่อการดำเนินชีวิต ทั้งยังมุ่งหวังที่จะเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนผ่านการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ และจะเป็นเวทีที่เปิดกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียนจากภาคประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพ


วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ
  • สร้างมิตรภาพและความเข้าใจระหว่างประชาชนของประเทศต่างๆ ในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อสันติภาพ ความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ที่ดี ของประเทศสมาชิกและประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน
  • เป็นกลไกคู่ขนานกับภาคราชการในการส่งเสริมให้ประชาชนไทยมีความสำนึกถึงความเป็นประชาชนอาเซียนซึ่งจะต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน
  • เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วิชาการ สังคมและวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน
  • ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ระหว่างประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกันและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนของภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคม
  • เป็นศูนย์กลางประสานการดำเนินงานขององค์การอื่นใดที่มิใช่รัฐบาล และกับภาคประชาสังคมทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม การศึกษาวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ สาธารณสุข การพัฒนา สิทธิมนุษยชน และเรื่องอื่นๆ ที่จะเป็นการส่งเสริมการสร้างประชาคมอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน
  • วัตถุประสงค์อื่นใดตามที่คณะกรรมการของสมาคมฯ ได้มีมติเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งได้รับการจดทะเบียนจากนายทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

คณะกรรมการสมาคมฯ

คณะกรรมการดำเนินงานของสมาคมฯ ชุดปัจจุบัน (2552 - 2554) ประกอบไปด้วยบุคลากรจากหลากหลายภาคส่วนของสังคม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ในแวดวงอาเซียน จำนวนทั้งสิ้น 15 ท่าน ดังนี้

นายกสมาคม- คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์
(รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหาร)

อุปนายก  - นายธีรกุล นิยม                                                         
(ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ)

กรรมการ - นายแผน วรรณเมธี             
(เลขาธิการสภากาชาดไทยและอดีตเลขาธิการอาเซียน)
                                 
กรรมการ - ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี
(ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
                                        
กรรมการ - ดร.สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง   
(ผู้แทนการค้าไทย และอดีตรองเลขาธิการอาเซียน)

กรรมการ  - นายการุณ กิตติสถาพร        
(กรรมการพัฒนาระบบราชการ)

กรรมการ - นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล
(ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
                                 
กรรมการ  - นายประมนต์ สุธีวงศ์          
(ประธานอาวุโสหอการค้าไทย)

กรรมการ  - รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ
(รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

กรรมการ - ดร.สายสุรี จุติกุล  
(ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก)

กรรมการ - นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์       
(ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน)

กรรมการ  - นายพิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์       
(บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์)

กรรมการ  - นายกวี จงกิจถาวร               
(บรรณาธิการอาวุโสเครือเนชั่น)

กรรมการและเลขาธิการ   - นาวาตรี อิทธิ ดิษฐบรรจง
(อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ)
กรรมการและเหรัญญิก     - นายรัศมี จิตต์ธรรม
(ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลัง กรวงการต่างประเทศ)

“กฎบัตรอาเซียนเพื่อคุณ”

ตลอดช่วงเวลากว่า 40 ปี อาเซียนได้พัฒนาตนเองจนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จในระดับสำคัญในหลายด้านที่เป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของประเทศในภูมิภาค การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เรื่อยไปจนถึงการร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวกันของอาเซียน รวมถึงความพยายามในการจัดตั้ง ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายในปี 2558 ได้แก่ การที่อาเซียนขาดกลไกที่บังคับในกรณีที่มีประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน และการที่องค์กรอาเซียนเองไม่มีสถานะทางกฎหมาย (legal entity) ซึ่งบ่อยครั้งทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้างต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมกันลงนามใน ‘กฎบัตรอาเซียน’ ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน โดยการมีกฎบัตรอาเซียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) เพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะความพยายามของอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็น ‘ประชาคม’ ภายในปี 2558
 (2) สร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน
 (3) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและสร้างประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยการบังคับใช้ของกฎบัตรฯ จะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรทีมีกติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น กฎบัตรอาเซียน จะก่อให้เกิดการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานของอาเซียนครั้งสำคัญ เช่น
(1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (AICHR) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่อาเซียนมีองค์กรเฉพาะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกอาเซียน
 (2) การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกระดับเอกอัครราชทูตจากทุกประเทศสมาชิกอาเซียน โดยคณะกรรมการนี้ มีภารกิจหลักในการให้นโบายและติดตามการทำงานของอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน
 (3) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการจัดให้มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 2 ครั้งต่อปี ซึ่งเพิ่มจากที่ผู้นำอาเซียนพบเพื่อหารือกันเพียงปีละหนึ่งครั้ง
 (4) การจัดตั้งกลไกให้องค์กรภาคประชาสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและดำเนินงานของอาเซียนมากขึ้น เป็นต้น


จากบริบทข้างต้น ก็คงจะเห็นได้ในระดับหนึ่งว่า ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการมีกฎบัตรอาเซียน ไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่เป็นประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยทั่วไป รวมถึงประชาชนไทยด้วย ดังนั้น ในโอกาสที่ไทยได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2552 ไทยจึงได้กำหนดคำขวัญของการดำรงตำแหน่งประธานฯ ว่า
‘กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน’ หรือ‘ASEAN Charter for ASEAN Peoples’

“การวางรากฐานของประชาคมอาเซียนด้วยสามเสาหลัก”

ในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของประเทศในภูมิภาค การช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นต้น


ปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความ
ท้าทายใหม่ ๆ มากมาย เช่นโรคระบาด การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติ เช่น      คลื่นยักษ์สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้


เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558 โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

       

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รายชื่อพรรคการเมือง2554

รายชื่อพรรคการเมือง 2554
หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย หัวหน้าพรรค : นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน หัวหน้าพรรค : นายแพทย์วรรณรัตน์
 ชาญนุกูล  
หมายเลข 3
พรรคประชาธิปไตยใหม่ หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์    
หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช
   
หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
   
หมายเลข 6 พลังชล หัวหน้าพรรค : นายเชาวน์ มณีวงษ์
   
หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม หัวหน้าพรรค : นายมุคตาร์ กีละ
   
หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
   
หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน หัวหน้าพรรค : นายกรภพ ครองจักรภพ
   
หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
   
หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร
   
หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์
   
หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา
   
หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม หัวหน้าพรรค : นายทองพูล ดีไพร
   
หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย หัวหน้าพรรค : นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา
   
หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
   
หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน หัวหน้าพรรค : นายวิชัย ศิรินคร
   
หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน หัวหน้าพรรค : นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ
   
หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง
   
หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่ หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์  โกศัยสุข    
หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา
   
หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม
   
หมายเลข 23 พรรค ชาติสามัคคี  หัวหน้าพรรค : นายนพดล ไชยฤทธิเดช
   
หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย
   
หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย หัวหน้าพรรค : นายจำลอง
 ดำสิม    
หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ หัวหน้าพรรค : พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
   
หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นางพูลถวิล ปานประเสริฐ    
หมายเลข 28 พรรค พลังสังคมไทย หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์
   
หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์
   
หมายเลข 30 พรรคมหาชน หัวหน้าพรรค : นายอภิรัต ศิรินาวิน    
หมายเลขที่ 31 พรรคประชาชนชาวไทย  หัวหน้าพรรค : นายสุนทร ศรีบุญนาค  


 
เพื่อไทยพรรคเพื่อไทย
2พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3ประชาธิปไตยใหม่พรรคประชาธิปไตยใหม่
4ประชากรไทยพรรคประชากรไทย
5รักประเทศไทยพรรครักประเทศไทย
6
พลังชล
พรรคพลังชล
7ประชาธรรมพรรคประชาธรรม
8ดำรงไทยพรรคดำรงไทย
9พลังมวลชนพรรค พลังมวลชน
10ประชาธิปัตย์พรรคประชาธิปัตย์
11ไทยพอเพียงพรรคไทยพอเพียง
12รักษ์สันติพรรครักษ์สันติ
13ไทยเป็นสุขพรรคไทยเป็นสุข
14กิจสังคมพรรคกิจสังคม
15ไทยเป็นไทพรรคไทยเป็นไทย
16ภูมิใจไทยพรรคภูมิใจไทย
17แทนคุณแผ่นดินพรรคแทนคุณแผ่นดิน
18
เพื่อฟ้าดิน
พรรคเพื่อฟ้าดิน
19
พรรค
เครือข่ายชาวนา
แห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20การเมืองใหม่พรรคการเมืองใหม่
21ชาติไทยพัฒนาพรรคชาติไทยพัฒนา
22เสรีนิยมพรรคเสรีนิยม
23ชาติสามัคคีพรรคชาติสามัคคี 
24บำรุงเมืองพรรคบำรุงเมือง
25กสิกรไทยพรรคกสิกรไทย
26มาตุภูมิพรรคมาตุภูมิ
27ชีวิตที่ดีกว่าพรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พลังสังคมไทยพรรคพลังสังคมไทย
29เพื่อประชาชนไทยพรรคเพื่อประชาชนไทย
30มหาชนรรคมหาชน
31ประชาชนชาวไทยพรรคประชาชนชาวไทย

รูปหัวหน้าพรรค